สวัสดีผู้ผู้อ่านทุกท่าน! วันนี้เรามีเรื่องระบบ precast มาฝากทุกท่านเวลาเราต้องไปชมโครงการบ้าน หรือ โกดัง โรงงาน ออฟฟิศ เราคงต้องรู้จักมันเบื้องต้นเพราะสมัยนี้ทุกการก่อสร้างนิยมใช้ เนื่องจากมีข้อดีในเรื่องประหยัดต้นทุนแรงงาน และอื่นๆอีกมากมาย วันนี้เราจะมาพูดถึงว่า Precast คืออะไรและขั้นตอนผลิตอย่างไร
Precast Concrete
คือชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ที่ได้จากการหล่อ หรือเทในแบบหล่อที่มีขนาดต่างๆ จากโรงงาน แล้วนำไปติดตั้งประกอบกันที่หน้างานก่อสร้าง คล้ายๆการต่อเลโก้นั่นแหละ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษป้องกันการรั่วซึม ด้วยการใช้วัสดุอุดรอยต่อป้องกันถึง 2 ชั้น ทนทานต่อแดด ยึดเกาะผิววัสดุได้ดีและมีการหดตัวที่ต่ำ
โครงการบ้านจัดสรรและอาคารสูงนิยมใช้ในการก่อสร้างอย่างมาก เพราะช่วยลดทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงาน บวกกับฝีมือแรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้เร็วขึ้น
ขั้นตอนผลิต Precast Concrete สำเร็จรูป
ขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปมี 10 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1.ทำความสะอาด เคลือบน้ำมัน (Cleaning and Oiling)
เป็นขั้นตอนการเตรียม Pallet (โต๊ะสำหรับผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป) โดยการทำความสะอาดเศษฝุ่นหรือเศษวัสดุต่างๆ และพ่นเคลือบน้ำมันเพื่อป้องกันชิ้นงานติดกับ Pallet
2.กำหนดตำแหน่งอุปกรณ์ (Pottering)
เครื่อง Plotter นำข้อมูลจาก Master Computer มา plot รูปแบบชิ้นงาน กำหนดตำแหน่งสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น วงกบประตู วงกบหน้าต่าง ปลั๊กไฟ ท่อร้อยสายไฟ ท่อน้ำ เป็นต้น
3.วางแบบกั้นข้าง (Shuttering)
วางแบบกั้นเหล็กข้าง เพื่อเป็นแนวในการเทคอนกรีต ด้วยระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ
4.วางโครงเหล็กเสริมความแข็งแรง (Reinforcement)
วางตระแกรงเหล็กและวัสดุฝังทั้งหมด ตามตำแหน่งที่กำหนดไว้
5.เทคอนกรีต (Concrete Casting)
กระสวยบรรจุคอนกรีตรับคอนกรีตผสมเสร็จมาเทลงในเครื่องเทคอนกรีต (Concrete Speader) และเครื่องเทคอนกรีตจะเทคอนกรีตลงบนโต๊ะ Pallet อัตโนมัติ
6.ปาดหน้าคอนกรีต (Screeding)
เพื่อปรับความหนาของแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปให้เท่ากันตลอดทั้งแผ่น เพื่อควบคุมชิ้นงานให้ได้มาตรฐาน
7.ขัดผิวหน้าคอนกรีต (Smoothening)
เป็นขั้นตอนขัดผิวหน้าให้เรียบ โดยใช้เครื่องขัดหน้า (Helicopter)
8.บ่มคอนกรีต (Curing)
ลำเลียง Pallet ชิ้นงานเข้าบ่มคอนกรีต โดยใช้เวลาบ่มคอนกรีตประมาณ 8-10 ชั่วโมง เพื่อให้ชิ้นงานได้กำลังอัดตามมาตรฐานกำหนด
9.ถอดแบบ (Shuttering Removing)
10.ยกชิ้นงานเก็บ (Tilting)
ทำการยกโต๊ะหล่อ (Pallet) จากแนวราบเป็นแนวตั้ง 85 องศา เพื่อถอดชิ้นงานออกจากโต๊ะหล่อฯ ในแนวดิ่ง และบรรจุลงในกล่องเก็บชิ้นงาน (Rack) เพื่อทำการจัดส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างต่อไป
ตอนนี้เราพอจะทราบกันเเล้วว่า Precast คืออะไรผลิตกันอย่างไรครั้งหน้าเราจะว่าพูดถึงข้อดีสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า precast กันครับ
ขอบคุณที่มาhttps://www.pruksa.com/about-us/pruksaprecast-technology