"รู้ไหมโรงงานมีกี่จำพวก"

สาระวันนี้ขอเสนอเรื่องโรงงานมีกี่จำพวกตาม พรบ.โรงงาน2535ทางเราข้อสรุปดังนี้

Blog1.jpg

“โรงงาน” ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หมายถึง อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะ ที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไปหรือใช้แรงงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปสำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุงทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษาหรือทำลายสิ่งใดๆ ทั้งนี้ตามประเภทหรือ ชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งตามกฎหมายได้แบ่ง โรงงานได้แบ่งออกเป็น 3 จำพวก ได้แก่

ประเทภที่1.jpg

โรงงานจำพวกที่ 1

คือ โรงงานที่มีแรงม้ารวมของเครื่องจักร 5-20 แรงม้า และ/หรือมีจำนวน คนงาน 7-20 คน (ยกเว้นโรงงานที่มีมลภาวะให้จัดเป็นโรงงานจำพวกที่ 3) โรงงานกลุ่มนี้สามารถประกอบกิจการ ได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการ แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงและ ประกาศกระทรวง

ประเทภที่2.jpg

โรงงานจำพวกที 2

คือ โรงงานที่มีแรงม้ารวมของเครื่องจักรมากกว่า 20 แรงม้าแต่ไม่เกิน 50 แรงม้าและ/หรือจำนวนคนงาน 21-50 คน (ยกเว้นโรงงานที่มีมลภาวะให้จัดเป็นโรงงานจำพวกที่ 3) เป็นโรงงาน ที่ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดเช่นเดียวกับโรงงานจำพวกที่ 1 และเมื่อจะเริ่มประกอบ กิจการโรงงานต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน

ประเภทที่ 3.1.jpg

โรงงานจำพวกที่ 3

คือ โรงงานที่มีแรงม้ารวมของเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า และ/หรือ มี จำนวนคนงานมากกว่า 50 คน หรือเป็นโรงงานที่มีมลภาวะ เป็นโรงงานที่ต้องรับใบอนุญาตก่อนจึงจะตั้งโรงงานได้

โดยผู้ประกอบการจะต้องทำใบขออนุญาต ได้แก่ แบบ รง. 3 คือ แบบคำขอรับใบอนุญาตและแบบ รง. 4 คือ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน นอกจากนี้ ยังมีแบบ รง. 3/1 คือ แบบขอต่ออายุใบอนุญาตและ แบบ รง. 3/2 คือ แบบคำขอรับโอนใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่มีการซื้อ เช่า หรือเช่าซื้อโรงงาน รวมถึง การรับเป็นมรดก เป็นต้น

การตรวจสอบสถานภาพของโรงงานว่าจัดอยู่ในกลุ่มโรงงานจำพวกใด ผู้ประกอบการต้อง พิจารณาจากข้อมูลชนิดของกิจการ แรงม้าเครื่องจักร และจำนวนคนงานที่ใช้ในโรงงาน ซึ่งรายละเอียดการแบ่ง จำพวกโรงงานจะระบุในกฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535